ลืมรหัสผ่าน / สมัครสมาชิก

สถิติวันนี้ 97 คน
สถิติเดือนนี้ 904 คน
สถิติปีนี้ 17,797 คน
สถิติทั้งหมด 230,594 คน
ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2554
  • ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ศูนย์ใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
  • ၸုမ်းၾၢႆႇလဵပ်ႈႁဵၼ်းလွင်ႈတႆး ဝိတ်းထယႃးလႆးႀုမ်းႀူၼ်းမႄႈႁွင်ႈသွၼ် ႁူမ်ၸူမ်းႁပ်ႉတွၼ်ႈယူႇၶႃး

กลับหน้าหลัก ฐานข้อมูล

ประวัติความเป็นมา “ปีใหม่ไต”

(21/12/2012 เวลา 13:49:05)

ประวัติความเป็นมา “ปีใหม่ไต”

 

                ปีใหม่ไต เริ่มต้นครั้งแรกเป็นมาอย่างไรนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการของชาวไต ได้ลงความเห็นร่วมกันตามหลักฐานที่สืบค้นได้ว่า ปีใหม่ไต ได้เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ. 450 ก่อนคริสตศักราช 95 ปี มีการเริ่มนับปีเมื่อครั้งอาณาจักรไตได้นำเอาพระไตรปิฏกเข้ามาจากประเทศอินเดียเป็นปีแรก

                ในขณะที่พวกไตอีกกลุ่มหนึ่ง เริ่มนับปีครั้งเมื่อเจ้าฟ้าเมืองไตในอาณาจักรไตมาว ได้รวบรวมบ้านเมืองขึ้นเป็นปึกแผ่น เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งพวกไตทั้งสองกลุ่มต่างก็นับเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนเจ๋ง (อ้าย) เป็นวันปีใหม่

                ต่อมา ในปีพ.ศ. 2098 ตรงกับคศ. 1555 อาณาจักรไตได้ถูกอิทธิพลของพม่าเข้าคุกคาม ครอบงำ และในปีพ.ศ. 2136 ได้ถูกอิทธิพลของอาณาจักรจีนเข้าครอบงำอีก จึงทำให้ชาวไตดังกล่าว เปลี่ยนไปยึดถือวันปีใหม่ตามอาณาจักรที่ปกครองครอบงำเหล่านั้น ระยะหนึ่ง

                ครั้นต่อมา ในปีพ.ศ. 2509 ซึ่งตรงกับคศ. 1966 คณะกรรมการภาษาและวัฒนธรรมเมืองมาว (ก๋อลีกลายฟิงเหง้เมืองมาว) ได้ฟื้นฟู “วันปีใหม่ไต” ขึ้น พออีกหนึ่งปีต่อมาได้ขยายไปยังเมืองล้าเสี้ยว และอีกสามปีต่อมาก็ขยายไปยังชาวไตทางตะวันออก และตอนใต้ แล้วเริ่มต้นยึดถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนเจ๋ง เป็นวันปีใหม่ของชาวไตอย่างพร้อมเพรียงกันอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2518

                สำหรับชาวไตในประเทศไทยนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 คนไตสัญชาติไทย ซึ่งมีลุงทุน ลุงแสง และลุงจายจื้น ได้รณรงค์จ้ดงานปีใหม่ไตขึ้นทุกปีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยยึดถือเป็นประเพณีของชาวไตบ้านใหม่หมอกจ๋าม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

                กิจกรรมและพิธีกรรมในการจัดงานปีใหม่ไต มีดังนี้

                วันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเดือนดับ) เรียกว่า วันรับเจ๋ง หรือวันรับต้อนปีใหม่ ซึ่งจะมีพิธีทางศาสนา มีการเตรียมอาหารและขนมต่างๆเพื่อเลี้ยงดูกันในวันปีใหม่ มีพิธีฮอลีก มีการเล่นสนุกสนานตามวัฒนธรรมท้องถิ่น อาจมีการต้อนรับปีใหม่เมื่อย่างเข้าเวลา 1 นาฬิกา หรือหลังเที่ยงคืน

                วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน เจ๋ง ซึ่งตรงกับวันปีใหม่ จะมีการถวายและให้ทานข้าวใหม่และขนมต่างๆให้กับญาติพี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียง มีการทำบุญเลี้ยงพระ รวมทั้งจัดเลี้ยงอาหารผู้มาร่วมงานในกรณีทำบุญที่วัด มีการละเล่นต่างๆ การแข่งขัน และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ในระยะหลังอาจนำเอาวันไหว้ครูหมอไตมาจัดรวมกันกับวันปีใหม่ด้วย ซึ่งจะเน้นกิจกรรมบูชาครูหมอไตและการฮอลีกเป็นหลัก ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นสำคัญ

อาจารย์เก

(นายประเสริฐ  ประดิษฐ์)

ครูภูมิปัญญาไทย

ที่ปรึกษาศูนย์ไทใหญ่ศึกษาวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน

 

อ้างอิง

                - เคอแสนแสงอ่อน; 1999 “ปี๋เหลินวันไตแลปี๋ใหม่ไต”

                - ปี๋ใหม่ไตเฮดหือมีมา (2001)

                 - เจ้าลุงคืนใส; 2545  “ปี๋ใหม่ไต” เอกสารโรเนียว.สภาวัฒนธรรมไตนอกเมือง.เชียงหม่

               - การสัมภาษณ์ เจ้าลุงคืนใส ซึ่งอ้างอิงมาจาก จายจื้นคำแหลงยอดไต (1999)

               

               

ิ�4)���)��ล่อโกะ) ได้สถาปนาอาณาจักรหนองแส (น่านเจ้า)ขึ้น พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่ทั้ง 12 เมือง เข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน ต่อมาอีก 8 ปี ได้ยกกองทัพไปตีเอาดินแดนที่ถูกจีนยึดครองไปกลับคืนมา ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์ถังของจีน ครั้นต่อมาในสมัยพระเจ้าโกะล่อฝง (ขุนลอ) ราชโอรสของพระเจ้าปีล่อโกะ ก็ได้ยึดดินแดนไตเพิ่มมาอีก 32 เมือง และทำลายกองทัพถังจนพินาศพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในปี พ.ศ. 1294 จนกษัตริย์ธิเบตถึงกับถวายพระนามแด่โกะล่อฝงเป็น จักรพรรด์ตะวันออก หรือ ตุงตี้

                มีนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ ทั้งไทยและต่างประเทศหลายคณะได้ศึกษาเรื่องของอาณาจักรหนองแส (น่านเจ้า)ใหม่ มีความเห็นว่าอาณาจักรน่านเจ้านั้น ประกอบด้วยชนชาติไต หล่อหลอ (Lo Lo) และนาคาปะปนกันอยู่ ชนชั้นปกครองเหล่านี้อาจผลัดเปลี่ยนกันปกครองหลายครั้ง หนองแสไม่ใช่อาณาจักรของไตเพียงกลุ่มเดียว เพียงแต่มีคนไตเป็นพลเมืองสำคัญอยู่เท่านั้น

                ในปี พ.ศ. 1285 อาณาจักรน่านเจ้าเปลี่ยนชื่อเป็น ไต้เหมิง หรือ ต้าเหมิง พวกเจ้าในอาณาจักรนี้เป็นชนชาติตระกูลเหมิง และเป็นชนชาติในตระกูลไตอ้ายหลาว หรือที่เรียกกันว่า อ้ายลาว นั่นเอง ส่วนรัฐประธานที่ชื่อเหมิงเส้อ หรือ เหมิงเส้อโหลง นั้นตรงกับชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารของชาวไตในรัฐฉาน และชาวไตลื้อว่า เมิงแส และเมิงแสโหลง

                การที่จีนเรียกอาณาจักรน่านเจ้า หรือหนานเจ้า เป็นไต้เหมิง หรือต้าเหมิงนั้น เดิมจีนเรียกอาณาจักรไตแห่งนี้ว่า หนานเจ้า ตามความรู้สึกของจีน คือนำเอาคำว่า เจ้า ของภาษาพื้นเมืองเจ้าถิ่น แล้วเติมคำว่า หนาน ซึ่งแปลว่า ใต้ ลงไป เพราะรัฐนี้อยู่ทางตอนใต้ของแผ่นดินจีน

                ในขณะเดียวกัน มีชนชาติอีกพวกหนึ่ง ที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ แต่ยิ่งใหญ่มาก จนต่อมาภายหลังได้มีกษัตริย์ที่มีอำนวจที่สุดในโลกองค์หนึ่ง พวกนี้เป็นชาวมองโกลเลีย อำนาจของกษัตริย์มองโกเลียพระองค์นี้ กระทบกระเทือนมาถึงพวกไต รวมทั้งมาถึงชาวไทยของเราด้วย จนเป็นเหตุให้ชาติไทยต้องถอยร่นมาตั้งอยู่ในแหลมทองจนถึงทุกวันนี้ กษัตริย์ชาวมองโกเลียพระองค์นี้ คือ กุบไลข่าน ชาวมองโกเลียที่เริ่มก่อตัวกล้าแข็งขึ้นมานี้ เดิมทีตั้งถิ่นฐานอยู่ทางลุ่มน้ำโอนอน ใกล้กับทิวเขาการากุรุม มีหัวหน้าปกครองหมู่คณะเรียกว่า ข่าน กษัตริย์องค์แรกที่สร้างกองทัพให้แก่มองโกเลียในเวลาอันรวดเร็วคือ เจงกีส ข่าน

                ในสมัยกุบไลข่าน ได้พยายามรุกรานดินแดนของราชวงศ์สูงของจีน กล่าวกันว่า มาโคโปโล มีส่วนช่วยเหลือในการแผ่อำนาจของกุบไลข่านนี้ด้วย จนถึงปี พ.ศ. 1819 ประเทศจีนทั้งประเทศจึงตกอยู่ใต้อำนาจของกุบไลข่าน เวลานั้น กุบไลข่าน เป็นมหาจักรพรรด์ที่มีดินแดนมากที่สุดที่กษัตริย์ในโลกเคยมีมา ดินแดนตั้งแต่พรมแดนเวียตนามปัจจุบัน ทะเลจีน มองโกเลียตอนเหนือ รัฐเซียไปจนถึงฝั่งทะเลดำในยุโรปตะวันตก ได้ตกอยู่ใต้อำนาจของกุบไลข่าน ทั้งสิ้น กองทัพมองโกเลียของกุบไลข่าน บุกเข้ารุกรานทำลายสหรัฐหนองแส หรือน่านเจ้าอย่างหมดสิ้น พร้อมๆกับอาณาจักรจีนก็ถูกมองโกเลียยึดครอง ชนชาติไตจึงต้องอพยพหนีต่อไป บางกลุ่มที่ไม่สามารถหนีไปไหนได้ ก็ต้องเป็นทาสตกค้างอยู่ในถิ่นเดิม พวกที่หนีการรุกรานของมองโกลในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 พวก คือพวกไตหลวงได้ไปรวมกันสร้างอาณาจักรสหรัฐไตโหลงขึ้นที่เมืองมาว อีกพวกหนึ่งคือไตอ่อน พวกนี้ลงมาอยู่ในดินแดนแหลมทอง เช่น   ลาว สุโขทัย อโยธยา โยนก เวียตนาม และกัมพูชา

                อีกด้านหนึ่ง ราวปี พ.ศ. 523 พวกไตกลุ่มที่ถอยร่นลงไปบริเวณต้นน้ำสาละวิน ก็ได้ก่อตั้งอาณาจักรไตมาวขึ้น มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองมาว พม่าเรียกส่วยลี่ ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในเขตประเทศจีนภายหลังได้ย้ายไปอยู่ที่เมือง แจ้ล้าน ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับเมืองมาว ปัจจุบันอยู่ในเขตแสนหวีเหนือของรัฐฉาน มีปฐมกษัตริย์ที่เป็นที่รู้จักของชาวไตทั่วทุกทิศคือ ขุนลาย เป็นบุคคลที่ชาวไตยกย่อง เทิดทูลศักการะ เนื่องจากเป็นผู้รวบรวมไต ให้เป็นไต อย่างแท้จริง ต่อมาในปี พ.ศ. 832 ชนชาติไตยึดครองเมืองปิ่วได้ ต่อมายึดเมืองต่งขิงซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของฮานอย และในปี พ.ศ. 956 ได้สร้างอาณาจักรทั้ง 13 เมืองจนเป็นปึกแผ่นแน่นหนา จัดรวมเป็นสหรัฐไตมาวขึ้น โดยมีเมืองมาวเป็นเมืองหลวง อาณาจักรไตมาวนี้เอง มีเมืองซึ่งเรารู้จักกันดีคือ เมืองแสนหวี ซึ่งตั้งภายหลังอาณาจักรมาวหลายร้อยปี อาณาจักรแสนหวีต่อมาหดแคบลง ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 รัฐใหญ่ คือ รัฐเมิงไย๋ (แสนหวีใต้) และรัฐแสนหวีเหนือ เมืองแสนหวีมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โกสัมพี พม่าเรียก โกชานปยี่ แปลว่า เมืองไตทั้งเก้า

                ผู้นำชนชาติไตคนหนึ่ง มีเชื้อสายมาจากไตมาว ได้ขยายอาณาจักรแห่งใหม่นี้ขึ้น คือ เจ้าเสือข่านฟ้า ได้พยายามรวมเอาเมืองที่เจ้าฟ้าต่างๆปกครองอยู่ และที่เคยอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพวกมองโกล กลับคืนมารวมกับเมืองมาวอีก เมืองใหญ่ๆเหล่านี้มีเมืองก๋อง พร้อมเมืองบริวารอีก 99 หัวเมือง เมืองอัสสัม เมืองคำตี่หลวง เมืองเวสาลี หรือเมืองอารกันยะไข่ เมืองเสือโป่ หรือส่วยโป่ เมืองกู่นุง เมืองกู่มุนและเมืองก๋างเจ้ 14 เมือง เมืองแสนหวี 49 เมือง เมืองนายพร้อมเมืองบริวาร เมืองปูก่ำ (พุกาม) เมืองกึ่งม้า เมืองเชียงแสน เมืองล้านช้าง เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงรุ้ง เมืองจิงโน (เมืองทง) เมืองวันซาน เมืองอโยธยา เมืองละแวก (เขมร) ให้เป็นสหรัฐไตหลวงขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่

                ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรไตมาว จึงเป็นสิ่งบันดาลใจให้ชนชาติไตถือว่า เชื้อชาติของพวกเขา เริ่มต้น ณ ที่ แห่งนี้  ในสมัยที่ชนชาติไตเจริญรุ่งเรืองเต็มที่ในอาณาจักรไตมาวนั้น ได้ก่อตั้งรัฐใหญ่ๆตามที่ต่างๆหลายแห่งด้วยกัน  เรียกว่า เมิงไตเก้าฮายหอ ประกอบด้วย               

1.             นครรัฐเมืองก๋อง  มีเมืองขึ้นในปกครอง 99 เมือง

2.             นครรัฐเมืองยาง มีเมืองขึ้น 37 เมือง

3.             นครรัฐเมืองสองสบ มีเมืองขึ้น 27 เมือง

4.             นครรัฐเมืองมีด มีเมืองขึ้น 49 เมือง

5.             นครรัฐเมืองนาย มีเมืองขึ้น 37 เมือง

6.             นครรัฐแสนหวี มีเมืองขึ้น 49 เมือง

7.             นครรัฐเมืองยองห่วย มีเมืองขึ้น 39 เมือง

8.             นครรัฐะเมืองสีป้อ มีเมืองขึ้น 27 เมือง

9.             นครรัฐเมืองมาว มีเจ้าฟ้าปกครองเมืองใหญ่ 8 เมือง รวมทั้งเมืองมาวด้วย ปัจจุบันเมืองมาวอยู่ในเขตประเทศจีน

             ต่อมา การล่มสลายของสหรัฐหนองแส หรือน่านเจ้านั้น ทำให้ชนชาติไตต้องถอยร่นลงไปทางใต้และทิศตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง ประกอบด้วย

 

              กลุ่มที่หนึ่ง

            กลุ่มไตหลวง ได้อพยพลงมาทางทิศตะวันตกของสหรัฐหนองแส หรือน่านเจ้า ไปสมทบกับกลุ่มที่ไปตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้วที่เมืองมาวคราวการล่มสลายของอาณาจักรปา รวมตัวกันสร้างอาณาจักรไตมาวที่ยิ่งใหญ่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น กาลเวลาต่อมาอาณาจักรไตมาว ก็ค่อยๆเสื่อมสลายลงเนื่องจากถูกพม่ารุกราน ในที่สุดก็แตกกระเซ็นกระซ่านเป็นชนชาติไตที่ตกค้างอยู่ในประเทศจีนบ้าง ชนชาติไตที่อยู่ในรัฐฉานของสหภาพเมียนมาร์บ้าง ชนชาติไตที่อยู่ทางตอนเหนือของอินเดียบ้าง และเป็นชนชาติไตที่อพยพเข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยด้วย

                กลุ่มที่สอง

                กลุ่มไตอ่อน กลุ่มนี้อพยพลงไปทางตอนใต้ ได้สร้างเมืองพะยาว (พูกามยาว)ขึ้นก่อน หลังจากนั้นก็ได้สร้างอาณาจักรเงินยางเชียงแสน บางกลุ่มกระจายไปสร้างอาณาจักรโคตรบูรณ์ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครพนม อีกพวกหนึ่งได้สร้างเมืองหลวงสึ่งเคอไต หรือกรุงสุโขทัยขึ้น ในช่วงที่ขุนรามคำแหงสร้างอาณาจักรสึ่งเคอไตนี่เอง ไตพวกที่สร้างเมืองเชียงรายคือพ่อขุนเมงราย กับพ่อขุนงำเมือง ได้เชิญพ่อขุนรามคำแหง มาร่วมหาทำเลสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นมา จนกลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาในเวลาต่อมา

                ขุนเมืองหลวงพระบาง ทรงพระนามว่า “ฟ้าเงิน” ได้สถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้น มีเมืองหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง

                ในยุคต่อมาจึงได้มีการสร้างอาณาจักรอโยธยาขึ้นในที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยาจนเจริญรุ่งเรือง มีอำนาจแผ่คลุมไปถึงเมืองมาลายู เมืองตะนาวศรี และได้รวบรวมอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาไทยมาเข้ากับ อโยธยาด้วย พอถึงศตวรรษที่ 18 อาณาจักรอโยธยาก็เสื่อมอำนาจลง พร้อมกับการเรืองอำนาจของพม่า

                กลุ่มที่สาม

                หลังจากสหรัฐไตหนองแส หรืออณาจักรน่านเจ้าถูกทำลายลงแล้ว ชนชาติไตกลุ่มอ้ายหลาว หรืออ้ายลาว ซึ่งอพยพลงมาตามลุ่มน้ำโขง ได้สร้างเมืองเชียงขวางขึ้น บางพวกก็อพยพไปยังอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรมอญ

                ยุคนี้ จึงเป็นยุคของความพยายามการก่อร่างตั้งเมืองให้เป็นปึกแผ่น อย่างเป็นกลุ่มเป็นพวกอีกครั้งหนึ่ง เกิดสงครามแย่งชิงดินแดนกันบ้าง กลุ่มที่เข้มแข็งกว่าก็จะสามารถขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างไกล

 

                ยุคปลาย

                กลุ่มไตหลวง เมื่ออพยพเข้ามาตั้งมั่นอยู่ทางที่ราบภาคกลางของลุ่มแม่น้ำสาละวินเป็นหลักแหล่ง ก็ได้ถูกพวกธิเบตเชื้อสายพราหมณ์เผ่า มิรันมา ซึ่งเป็นต้นตอของชนชาติพม่าที่อพยพมาทางแม่น้ำพรหมบุตรในอินเดีย เข้ามารุกรานแย่งชิงดินแดน โดยในขั้นแรกเผ่ามิรันมาได้รุกรานชนชาติผิ่ว อันเป็นเผ่าดั้งเดิมของดินแดนพม่า จากนั้นก็รุกรานพวกมอญ แต๊ด (สากย์) กานหย่าน (ขาง ยาง) ซึ่งอาศัยอยู่ตามเมืองอ๊อกแส่ มีนบู และเมืองฉ่วยโป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในความปกครองของชนชาติไตไปจนหมดสิ้น

                อาณาจักรของชนชาติไต ถูกรุกรานกว้างขวางออกไปตามลำดับ พุกาม อังวะ พะโค (เมืองหลวงของมอญโบราณ) ล้วนอยู่ในกำมือของเผ่ามิรันม่า หรือพม่าทั้งสิ้น จนถึงพ.ศ. 1843 – 1844 ไตเจ้าของถิ่นที่ถูกพม่ารุกรานมาโดยตลอด ไม่สามารถทนต่อสภาวะเช่นนั้นได้อีก จึงไปผูกสัมพันธ์ไมตรีกับเผ่ามองโกล ซึ่งเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนจีนเวลานั้น กองทัพมองโกลได้เข้ามาช่วยเหลือตีชิงเอาเมืองคืนจากพม่าได้หลายเมือง รวมทั้งเมืองพุกามด้วย ยิ่งกว่านั้นได้ตีฝ่าลงใต้ปราบพม่าถึงเมืองอังวะได้สำเร็จ พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างเมืองหลวงของตนขึ้นที่เมืองศึกไก๋ (สะไก)เพื่อปกครองอาณาจักรพุกาม อังวะ เมืองยาง และเมืองมาวอีกด้วย

                ต่อมาในปี พ.ศ. 1898 พม่าก็ฟื้นคืนกำลังขึ้นมาอีก คราวนี้ไม่เฉพาะแต่ดินแดนของไตเท่านั้น แม้บางส่วนของล้านนา ก็ตกอยู่ในเงื้อมมือของพม่าโดยสิ้นเชิง

                เมืองยาง (โมยิน) ซึ่งเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรือง พร้อมทั้งเมืองเล็กเมืองน้อยอีกมากมาย ก็ถูกพม่ายึดครองไปสิ้น

                ศึกไก๋ เมืองหลวงของไต ที่เพิ่งตั้งขึ้นได้ไม่นาน เพื่อเป็นนครรัฐปกครองอาณาจักรพุกาม ได้ถูกพม่ายึดแล้วตั้งเป็นมณฑลสะไกขึ้นมาแทน

                บ้านท่าเดื่อ ซึ่งในสมัยเมืองยางเจริญรุ่งเรืองและครอบครองอยู่ ก็ถูกพม่ายึดครอง แล้วตั้งเป็นมณฑลมัณฑะเลขึ้นมา มีเมืองมัณฑะเลเป็นนครรัฐมาจนถึงปัจจุบันนี้

                กะยา เป็นดินแดนที่ชนชาติไตต้องสูญเสียให้แก่พม่าในเวลาต่อมา พร้อมทั้งเมืองเล็กเมืองน้อยอีกมากมาย เช่น เมืองดอยก่อ (เมืองเจ้าฟ้าไต) เมืองจะลอง (เจ้าโหลง) เมืองผาจอง เมืองเวียงดีบ่อแส เมืองผาลูแสง เมืองต่างๆเหล่านี้ ปัจจุบันถูกผนวกอยู่ในดินแดนของรัฐกะยา (ยางแดง)

                สรุปแล้ว ชนชาติไตต้องสูญเสียดินแดนเหล่านี้ไปทีละน้อยๆอย่างเจ็บช้ำกล้ำกลืนที่สุด พร้อมกับจำนวนผู้คนพลเมืองอีกจำนวนมหาศาล

                กล่าวกันว่า เฉพาะในรัฐฉานปัจจุบันนี้ มีชนชาติไตอยู่ถึง 95 % ในรัฐกะฉิ่นซึ่งอยู่ตอนเหนือของพม่า มีชาวไตอยู่ประมาณ 60 % ในมณฑลสะไกมีอยู่ 40 % ในมณฑลมัณฑะเลมีอยู่ 40 % ในรัฐกะยา มีประมาณ 50 %

                นอกจากดินแดนไตแล้ว พม่ายังเข้ายึดครองดินแดนของชนชาติต่างๆอีกหลายแห่ง เช่น เมืองพะโค (หงสาวดี) เมืองหลวงของมอญ เมืองย่างกุ้ง อาณาจักรของมอญ เมืองผาอานเมืองหลวงของกะเหรี่ยง

                แม้จะถูกพม่าซึ่งแผ่อำนาจเข้ายึดครองดินแดนของชนชาติต่างๆไปดังกล่าวแล้วก็ตาม ชนชาติไตยังมีดินแดนส่วนใหญ่อันกว้างใหญ่ไพศาลเหลือให้เป็นมรดกของลูกหลานต่อมาภายหลังอีกมาก จากการสำรวจของทางราชการ มีอาณาเขตที่เป็นของไต ประมาณ 60,416 ตารางไมล์ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 8 ล้านคน

                บนพื้นที่ 6 หมื่นตารางไมล์นี้ สภาพของอาณาจักรไตในรัฐฉานส่วนมากเป็นที่ราบสูง หนาแน่นไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่ามากมายมหาศาล นับแต่แร่ทองคำ เงิน เพชร พลอย หยก อัญมณี รัตนชาติ แร่เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว สังกะสี พลวง แมงกานิส และวุลแฟลม นอกจากนี้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ ซึ่งล้วนเป็นไม้มีค่า เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้ประดู่  แต่ก็กำลังจะถูกทำลายลงด้วยการสร้างเขื่อนสาละวิน ที่จะมีขึ้นในอีกไม่นานนี้ด้วยความร่วมมือของจีน พม่า และไทย

                นอกจากแม่น้ำสาละวินแล้ว ในรัฐฉานยังมีแม่น้ำมาว น้ำตู้ น้ำเต็ง ซึ่งล้วนแต่เป็นแม่น้ำสายใหญ่ ช่วยหล่อเลี้ยงผืนดินให้เขียวชะอุ่มชั่วนาตาปีอีกด้วย

                ต่อมา ด้วยเหตุแห่งความชอบในการย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาที่ทำกิน การทำไม้ในสมัยอังกฤษปกครองพม่าที่ขยายมาสู่ทางตะวันออกของน้ำสาละวิน และความไม่สงบทางการเมืองระหว่างรัฐไตด้วยกัน และจากการถูกกดขี่ข่มเหงจากชนชั้นปกครอง ชาวไตส่วนหนึ่งจึงได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการหลั่งไหลเข้ามาเป็นระยะๆ มีความสามารถถึงระดับเป็นชนชั้นปกครองของพิ้นที่ในระดับเจ้าฟ้า บ้างก็กลายเป็นคนไทยได้เชื้อชาติไทยและสัญชาติไทย บางส่วนได้เพียงสัญชาติไทยตามกฏหมายว่าด้วยสัญชาติ และบางส่วนซึ่งเป็นส่วนใหญ่ ได้เข้ามารับจ้างแรงงานอยู่ตามเมืองต่างๆ ทั้งที่มีใบอนุญาตทำงานและไม่มีใบอนุญาตทำงาน คาดว่าน่าจะอยู่ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 3 – 4 ล้านคน

                สำหรับชนชาติไตในยูนนาน  เป็นชนชาติไตที่ตกค้างอยู่ในมณฑลยูนนาน ซึ่งถูกจีนยึดครองไปนั้น ประกอบไปด้วยคนไต 2 พวกใหญ่ๆ โดยเรียกนามตามถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของพวกเขา เพราะอยู่ทางตอนเหนือและตอนใต้ของยูนนาน คนไตทั้ง 2 กลุ่มนี้คือ ไตเหนอ หรือ ไทยเหนือ กับไตลื้อ ปัจจุบันคนไตเรียกพวกไตเหนอว่า ไตแข่ หรือ แข่ไตเหนอ (คำว่าแข่ แปลว่าจีนในภาษาไตท้องถิ่น) พม่าถือว่าไตกลุ่มนี้เป็นชานเช่นกัน เรียกว่า ชานตะยก คำว่าตะยก เป็นภาษาพม่าแปลว่า ไตจีน คำนี้ตรงกับภาษามอญว่า เจอย์จ ที่ไทยเราเรียกว่า เจ๊ก นั่นเอง อีกพวกหนึ่งคือไตลื้อ พวกนี้อยู่ในเขตสิบสองพันนา ตอนใต้ของยูนนาน พม่าเรียกไตลื้อในสิบสองพันนาว่า ลุ่ยชาน คำว่าลุ่ย ในภาษาพม่า คือคำว่าลื้อ นั่นเอง ทั้งไตเหนอและไตลื้อ รวมทั้งไตกลุ่มย่อยอื่นๆที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน ปัจจุบันน่าจะมีประชากรไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน

                กลุ่มไตอ่อน และกลุ่มไตอ้ายหลาว  เมื่อถอยร่นลงมา บางกลุ่มก็ได้สร้างอาณาจักรขึ้นเป็นของตนเอง เช่นอาณาจักรเงินยางเชียงแสน อาณาจักรล้านนา อาณาจักรโคตรบูรณ์ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักร อโยธยา โดยหลอมรวมอาณาจักรทวารวดี ซึ่งเป็นอาณาจักรดั้งเดิมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเข้าด้วยกัน หลังจากอาณาจักรอโยธยาล่มสลาย ได้มีการกอบกู้เอกราชโดยพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำการย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยาไปสร้างยังกรุงธนบุรี แล้วข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงสยาม จนกลายมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน สำหรับกลุ่มไตอ้ายหลาว ก็มารวมกลุ่มกับอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรมอญ ผสมกลมกลืนไปกับกลุ่มเหล่านั้นจนหมดสิ้น ด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พวกไตลาวก็ได้สร้างอาณาจักรเป็นของตนเอง คืออาณาจักรล้านช้าง มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง กลุ่มอื่นก็รวมตัวกับคนที่อยู่ในพื้นที่เดิม รวมกันสร้างประเทศของตนเองขึ้นมา เช่น เวียตนาม และกัมพูชา ซึ่งถือว่าเป็นชนชาติไตด้วยกันทั้งสิ้น

                ยุคนี้ จึงเป็นยุคของการแยกย้ายเพื่อปักหลักสร้างบ้านแปงเมืองอย่างเป็นหลักเป็นฐาน ของชนชาติไตในแต่ละกลุ่มสู่ความมั่นคง ในนามรัฐ และประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จนก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซี่ยนในที่สุด

                ปัจจุบันถึงแม้ว่า ชนชาติไตจะกระจัดกระจายไปอยู่ทุกหนทุกแห่งในภูมิภาคนี้ แต่ยังคงไว้ซี่งเอกลักษณ์ในความเป็นไต ที่เห็นเด่นชัดก็คือด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อทางศาสนา ทุกกลุ่มต่างนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น รากเหง้าทางภาษาก็เป็นภาษาไทเดิมด้วยกันแทบทั้งสิ้น วัฒนธรรมการแต่งกาย และการกินอยู่ตลอดจนนิสัยใจคอก็แทบไม่แตกต่างกัน  ขอให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความเป็นชนชาติ อย่าได้แบ่งแยก แม้จะไปอยู่ ณ ประเทศใด จงสามัคคีรักใคร่ปรองดองกัน ความเป็นชนชาติไตก็จะยังมั่นคง เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ตราบนานเท่านาน

อาจารย์เก

ครูภูมิปัญญาไทย

ที่ปรึกษาศูนย์ไทใหญ่ศึกษาวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน

อ้างอิง

-                   ปราณี ศิริธร; 2528 “สารัตถะคดี เหนือแคว้นแดนสยาม” คนไทยทุกสาขานอกราชอาณาจักร.สำนักพิมพ์ ลานนาสาร พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ช้างเผือก เชียงใหม่

-                   ลุงก๊อด (Mr.Golt); 1987 “ปืนไตกู้เคอ เคอ” สภาจัดทำหนังสือไต.  เชียงใหม่

-                   ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ โรงพิมพ์มิ่งเมือง. เชียงใหม่ 2528

-                   บดินทร์ กินาวงศ์และคณะ; “ประวัติศาสตร์เมืองชียงราย – เชียงแสน” มูลนิธิส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดเชียงราย.โรงพิมพ์มิ่งเมือง เชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2.  2546

-                   ตำนานและประวัติ เจ้าเสือข่านฟ้า. ศูนย์ไทใหญ่ศึกษา. วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 2554

               

               

 

                

จำนวนผู้เข้าชม : 8940

กลับหน้าหลัก ฐานข้อมูล