สถิติวันนี้ | 106 คน |
สถิติเดือนนี้ | 904 คน |
สถิติปีนี้ | 17,797 คน |
สถิติทั้งหมด | 230,594 คน |
ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2554 |
ประวัติเมืองนาย ในยุคสมัยเจ้าขุนกี่ปกครอง ค.ศ. 1874 – 1914 เล่าจากตำราโดยคุณลุง ออหว่า สุนันทา
เมืองนายมีพื้นที่ 3,100 ตารางไมล์ มีประชากร 23,673 คน 7,890 หลังคาเรือน (ค.ศ. 1891)
ในสมัยนั้นเจ้าขุนกี่เป็นเจ้าฟ้าปกครองเมืองนาย ค.ศ. 1874 – 1914 เจ้าขุนกี่เป็นเจ้าฟ้าที่มีชื่อเสียงมาก ชาวเมืองในปกครองมีความภักดีต่อเจ้าขุนกี่มาก เพราะเจ้าขุนกี่ปกครองด้วยความเมตตาธรรม จนได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติจากทางอังกฤษ ค.ศ. 1902 เจ้าขุนกี่เป็นเจ้าฟ้าชั้นสูงสุดในปี ค.ศ.1903 เจ้าขุนกี่ถึงแก่กรรมในวันที่ 6 – 6 - 1914
เรื่องเกิดที่เกงตอง เมื่อน้องชายของเจ้าขุนกี่ที่ไปปกครองเป็นเมี้ยวจา (เจ้าเมือง) ที่เกงตองได้ถึงแก่กรรม ต่อมาภรรยาของเจ้าเมืองเกงตองได้พาลูกไปเที่ยวที่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งได้ขอให้พระหลู่ที่บวชเป็นพระเล่าเรียนอยู่ที่วัดยาดตะหน่าปุ่ง มัณฑะเลย์ ให้พาไปสักการะเจ้าพาราละแข่ง พระหลู่บวชศึกษาเล่าเรียนได้เป็นเพื่อนกับกษัติริย์พม่านามว่าตี่ปอมิน จากนั้นภรรยาเจ้าเมืองเกงตองได้กลับจากไปเที่ยวมัณฑะเลย์ พระขุนหลู่ได้ตามมาด้วย และลาสิกขาที่เกงตองอยู่กินกับนาง พออยู่ด้วยกันจึงยกทากหลู่ขึ้นเป็นเมี้ยวจา(ทากคือคนที่สึกจากบวช) ทางกษัตริย์ที่ขุนหลู่เป็นสหายอยู่ได้อ้างถึงประเพณีที่เมืองเกงตองต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้แก่ตนปีละ 2,000 ขุนหลู่ได้ตอบกลับไปว่าในฐานะที่ตนเป็นเมี้ยวจาของเมืองเกงตอง ตนจะส่งเครื่องราชบรรณาการถวายให้ปีละ100,000 ม้า 120 เชือก ช้างอีก 37 เชือก เจ้าฟ้าเมืองนายได้ท้วงติงว่าขุนหลู่ได้ทำผิดประเพณีของบ้านเมืองเรา ที่จะต้องส่งส่วยให้แก่กษัตริย์พม่า ส่วยที่ส่งไปก็บังคับเก็บจากชาวบ้านไม่ได้เป็นทรัพย์สินของตน ความขัดแย้งระหว่างเจ้าส่วยกี่กับขุนหลู่จึงเกิดขึ้น และได้ทำการรบกันหลายครั้งผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะมาสองสามปี ในตอนนั้นทางอังกฤษเห็นว่าเจ้าขุนหลู่ทำไม่ถูกต้อง จึงมาช่วยเจ้าส่วยกี่จับขุนหลู่ ทางขุนหลู่เมื่อทราบข่าวก็โกรธมากที่ทางอังกฤษร่วมมือกับเจ้าส่วยกี่จะมาจับตน จึงได้รวบรวมกำลังพลขึ้นมาทางดอยแหลมเผาบ้านเผาเมืองจนมาถึงเมืองนาย เผาหมู่บ้านตามข้างทางจนหมด เจ้าขุนหลู่เป็นคนจิตใจโหดเหี้ยม มีสมุนที่ยิงไม่ออกฟันไม่เข้ายิ่งสร้างความความฮึกเหิมแก่ขุนหลู่ เจ้าขุนกี่อยู่ในเมืองนายไม่ได้จึงหนีไปเมืองเชียงตุง ทางอังกฤษจึงขึ้นมาทำการวางแผนจับตัวขุนหลู่ วันที่ 22 – 11 – 1887 ในวันที่ 2 – 5 – 1888 นายทหารอังกฤษ เคลื่อนกำลังพลจากดอยแหลมมาเมืองนายเพื่อจับตัวขุนหลู่ ในวันที่สามกำลังพลเดินทางมาถึงบ้านต้างหลุด ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือเมืองนาย 7 ไมล์ มาพบแม่เฒ่ากับหมูตัวหนึ่ง แม่เฒ่าบอกว่าขุนหลู่เผาหมู่บ้านของตน ชาวบ้านในหมู่บ้านได้พากันหนีไปหมดแล้ว เหลือแต่ตนกับหมูตัวเดียว นายทหารจึงให้กำลังพลพักค้างแรมที่ต้างหลุด วันรุ่งขึ้นค่อยเดินทางเข้าเมืองนายไปจับตัวขุนหลู่ แต่ตนกลัวว่าขุนหลู่จะไหวตัวทันและหลบหนี ตนกับพวกห้านาย ได้ขี่ม้าลอบเข้าเมืองนายในคืนนั้น จนมาถึงหน้าหอเจ้าฟ้าเมืองนาย หน้าประตูไม่มีเวรยามเฝ้าเพราะฝนตก ตนจึงลอบขึ้นไปบนหอเจ้าฟ้าและจับตัวขุนหลู่ได้ หลังจากนั้นเจ้าขุนกี่จึงได้กลับจากเมืองเชียงตุงมาที่เมืองนาย จากนั้นไม่นานนายทหารอังกฤษได้นำตัวขุนหลู่ไปยังย่องห่วย เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตัดสินโทษของขุนหลู่ ทางผู้บังคับบัญชาสั่งการให้นำตัวขุนหลู่ไปให้เจ้าฟ้าเมืองนายและเจ้าฟ้าไตตัดสิน เพราะว่าอังกฤษเพิ่งเข้ามาอยู่ในที่นี้ได้ไม่นานไม่สมควรที่จะตัดสินความนี้ นายทหารจึงนำตัวขุนหลู่เดินทางไปให้เจ้าฟ้าไตตัดสิน พอถึงเมืองปอน ขุนหลู่ได้วิ่งหนี ทหารอังกฤษจึงยิงตามหลังทำให้ขุนหลู่เสียชีวิต นายทหารได้รายงานถึงเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ทางผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้จัดการศพของขุนหลู่ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นหนึ่งเดือนทางผู้บังคับบัญชาของนายทหารอังกฤษได้ขึ้นมาจากเมืองย่องห่วย พอมาถึงเมืองปอนได้สั่งให้ทหารขุดหลุมศพขุนหลู่เพื่อตรวจสอบ ปรากฏว่าศพของขุนหลู่ได้หายไป บ้างลือว่าขุนหลู่ไม่ได้ตายจริง บางลือว่าลูกน้องของขุนหลู่ได้มาเอาขุนหลู่ไป แต่เรื่องจริงคือคนที่เกลียดชังขุนหลู่ได้มาขุดหลุมศพ และทำการตัดหัวไปให้เจ้าฟ้าเมืองนายเสียบประจานตามมุมเมือง มุมละหนึ่งวัน เรื่องของขุนหลู่ที่ทำการเผาบ้านเผาเมืองกดขี่ข่มเหงบ้านเมืองก็จบสิ้นลง
จำนวนผู้เข้าชม : 5559