สถิติวันนี้ | 103 คน |
สถิติเดือนนี้ | 904 คน |
สถิติปีนี้ | 17,797 คน |
สถิติทั้งหมด | 230,594 คน |
ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2554 |
แนวคูเมืองเก่าของแม่ฮ่องสอน
ค่าพิกัด
จุดที่ 1 พิกัด X = 391787 พิกัด Y= 2134527
จุดที่ 2 พิกัด X = 392429 พิกัด Y= 2134307
จุดที่ 3 พิกัด X = 392369 พิกัด Y= 2134209
จุดที่ 4 พิกัด X = 391987 พิกัด Y= 2133776
จุดที่ 5 พิกัด X = 391492 พิกัด Y= 2134034
สภาพ ทำเลที่ตั้งของเมืองแม่ฮ่องสอนเดิม
ตั้งอยู่ในแอ่งภูเขา มีที่ราบสูง ๆ ต่ำ ๆ บริเวณที่มีระดับความสูงมากที่สุดคือบริเวณหน้าศาลเก่าลาดต่ำลงสู่บริเวณ วัดหัวเวียงและลาดต่ำลงไปอีกทั้งสองด้าน มีลำน้ำไหลขนานทั้ง 2 ด้าน ลำน้ำปุ๊ไหลผ่านทางด้านทิศเหนือและลำน้ำแม่ฮ่องสอนไหลผ่านด้านทิศใต้ ลำน้ำทั้ง 2 ไหลไปบรรจบกันที่บ้านสบป่องและไหลลงสู่แม่น้ำปาย ตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปเหลี่ยมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 , 000 เมตร มีส่วนที่ยื่นออกไป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณวัดก้ำก่อและเรือนจำเก่า ขนาดพื้นที่ของเมืองทั้งหมดประมาณ 1.5 ตารางกิโลเมตร
แนวคูเมืองของตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเดิม
แนวคูเมืองของตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเดิม คือบริเวณตำบลจองคำ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ตามแนวผังเมืองโบราณ ดังนี้ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2545:83-84 )
ทิศเหนือ เริ่มจากกำแพงวัดหัว เวียงผ่านตลาดสด เลียบแนวสนามบิน ตัดออกหน้าประตูโรงพยาบาลศรีสังวาลย์และจากแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกของวัดหัว เวียงตัดออกไปทาง สามแยกวัดม่วยต่อ เดิมเป็นประตูเมืองเก่าเรียกว่า “ประตูดำ” เพราะใช้เป็นทางนำศพออกไปป่าช้า
ทิศตะวันออก จากหน้าประตูโรง พยาบาลศรีสังวาลย์ เดิมเป็นประตูเมืองเรียกว่า “ประตูทัพ” ตัดไปตามแนวรั้วโรงพยาบาลศรีสังวาลย์จรดลำน้ำแม่ฮ่องสอน ยังปรากฏแนวคูเมืองอยู่บ้าง
ทิศตะวันตก เริ่มจากแนวรั้ว ด้านทิศตะวันออกของวัดก้ำก่อ ตัดออกหลังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 1 ผ่านหมู่บ้านเลียบแนวถนนผดุงม่วยต่อไปจรดสามแยกวัดม่วยต่อ
ทิศใต้ เริ่มจากลำน้ำ แม่ฮ่องสอนหลังโรงไฟฟ้าเก่าตัดขนานแนวทุ่งไปสู่ถนนขุนลุมประพาส มีประตูเมืองเก่า เรียกว่า “ประตูโขเผิก” ตัดไปจรดกำแพงวัดก้ำก่อ
ข้อมูลข้างต้นสอดคล้องกับการสัมภาษณ์ของ สตต.สามารถ หิมะนันท์ และอาจารย์สุรศักดิ์ ป้อมทองคำ ที่ได้กล่าวตรงกันว่า “ แนว คูเมืองเริ่มตั้งแต่ปากทางเข้าโรงพยาบาลศรีสังวาลย์(เรียกว่าประตูชัย)ถึง ข้างสนามบินตรงบริเวณบ้านนายดาบตำรวจทา สุธรรมมา แล้วอ้อมมาถึงข้างโรงเรียนห้องสอนศึกษาเดิม(ข้างสนามบินในปัจจุบัน) อ้อมไปยังข้างร่องน้ำออกถนนราชธรรมพิทักษ์ (เดิมไม่มีถนนพาณิชย์วัฒนา) ตัดตรงมาที่วัดหัวเวียง ถึงธนาคารทหารไทย ผ่านบ้านคุณลุงประสิทธิ์ โพธิขจร (บ้านนายเมธี โพธิขจรในปัจจุบัน) และผ่านหน้าบ้าน คุณอัญชนา ชัยศรี ถึงป๊อกกาด ( เรียกว่าประตูผีหรือประตูดำ) ตัดไปตามแนวถนนผดุงม่วยต่อปัจจุบันถึงหน้าวัดก้ำก่อ ตัดเรือนจำเก่าผ่านบ้านพัศดี หรือที่ทำการป๊อกหนองจองคำปัจจุบัน ตัดผ่านถนนเจ้าฟ้า(ถนนหลังวัดจองคำจองกลาง) อ้อมหลังวัดจองคำตัดไปสู่ประตูชัยหน้าโรงพยาบาล ลักษณะของคูเมือง มีลักษณะคล้ายร่องระบายน้ำ หากพื้นดินแข็งจะใช้ไม้วางแล้วกลบด้วยดินสร้างขึ้น ซึ่งขุดลงไปลึกประมาณ 2-3 เมตร กว้าง 3-4 เมตร อีกฟากหนึ่งใช้ไม้ซุงกันเป็นแนว สร้างขึ้นเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะเข้ามาและเป็นที่หลบซ่อนหากมีการสู้ รบ” แนวคูเมืองบางส่วนจะมีน้ำ (บริเวณเส้นข้างสนามบินปัจจุบัน อ้อมหลังวัดจองคำ วัดจองกลาง) บางส่วนก็ไม่มีน้ำ (บริเวณถนนผดุงม่วยต่อ หน้าวัดม่วยต่อ และวัดพระนอน) (สามารถ หิมะนันท์ : 06/12/2550 ; สุรศักดิ์ ป้อมทองคำ: 0 7/12/2550 )
จำนวนผู้เข้าชม : 2332