โครงการฐานข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับไทใหญ่
หลักการและเหตุผล
จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองเศรษฐีทางวัฒนธรรม
อันเนื่องมาจากความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์
ซึ่งล้วนต่างมีวัฒนธรรมประเพณีอันเป็นมรดกตกทอดที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนซึ่งปัจจุบันก็ยังคงดำรงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนไว้อย่างมีแบบแผน
มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามเป็นของตนเอง
ที่สะท้อนให้ผู้ที่มาเยือนหรือพบเห็นต่างประทับใจในความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่
ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากเป็นอันดับต้นๆในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ที่ยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมปฏิบัติ และมีประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างเหนียวแน่นและยังคงดำรงสืบสานต่อไปจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อไม่ให้สูญสลายไปกับวัฒนธรรมยุคสมัยใหม่ที่คืบคลานเข้ามา ซึ่งส่งผลให้เยาวชนรุ่นใหม่ที่อยู่ในช่วงรอยต่อทางวัฒนธรรมยุคใหม่ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงและเข้าใจวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ทรงคุณค่าได้
และนี้อาจเป็นจุดสูญสิ้นของวัฒนธรรมอันดีงามได้ในอนาคต
ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังไม่มีการจัดเก็บรวบรวมฐานข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้ของชุมชน
อันเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงและขาดการประสานงานที่ดีกับชุมชนจึงทำให้การจัดเก็บรวบรวมยังขาดข้อมูลเชิงลึกทางวัฒนธรรมชุมชน
ดังนั้นการนำข้อมูลมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการการพัฒนาและการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนจึงขาดประสิทธิภาพ
การจัดทำฐานข้อมูลองค์ความรู้ไทใหญ่จึงเป็นหนทางหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นนำร่องในการสร้างฐานความรู้ทางวัฒนธรรมที่เยาวชน ประชาชนทั่วไป และรวมถึงทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และสามารถนำมาเป็นข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าทางวัฒนธรรม
หรืออาจนำมาใช้เทียบเคียงเพื่อการบริหารจัดการและการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนควบคู่กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และสามารถกระตุ้นให้ประชาชนและเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในสืบสานและการพัฒนาชุมชนของตนอย่างสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลองค์ความรู้ไทใหญ่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนในรูปสื่ออิเล็คทรอนิกส์
2.เพื่อเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่สืบค้นและถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไทใหญ่อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ขอบเขตการศึกษา
ขอบเขตด้านประชากร
ศึกษานำร่องหมู่บ้านชุมชนไทใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สะงีและลุ่มน้ำแม่สะงา10ชุมชน จากชุมชนไทใหญ่ทั้งหมด104ชุมชน ในเขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ขอบเขตด้านเนื้อหา
รวบรวมข้อมูล ชุมชน บ้านเรือน วัดวาอาราม
ตำแหน่งที่ตั้ง ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี12เดือน
ภาษา วรรณกรรม ศิลปะ การแสดง การประกอบอาชีพแหล่งเรียนรู้ชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่สำคัญอื่น ๆ บุคคลสำคัญ/ภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงสร้างองค์กรชุมชน
องค์กรเป็นทางการและองค์กรไม่เป็นทางการ แผนที่ชุมชน เส้นทางการคมนาคม
ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล
ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงเดือน กันยายน พ.ศ.2556
ขั้นตอนการดำเนินงาน
งบประมาณ
งบประมาณรวมทั้งสิ้น 100,000 บาท
(หนึ่งแสนบาทถ้วน)
แผนการเบิกจ่าย
(หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายตามจริงได้ตามความเหมาะสม)
หน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน100,000บาท (-หนึ่งแสนบาทถ้วน-)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์วิจัยวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน
|